อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
นโยบาย

นโยบายคณะผู้บริหาร เทศบาลเมืองตะกั่วป่า

การกำหนดนโยบายของทุกด้านจะบริหารภายใต้หลักธรรมาภิบาล
มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีความคุ้มค่า โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนและเปิดโอกาสให้มีการรับฟังความเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึง
ด้วย 6 นโยบาย สู่ ตะกั่วป่า “สุข” ยั่งยืน ดังนี้

                 1.  สุข “ศึกษา” นำตะกั่วป่า สู่เมืองแห่งการเรียนรู้ โดย

  • ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนมากกว่า 3 ภาษา

  • มุ่งสร้างนักเรียนให้เป็น คนดี คนเก่ง และ มีความสุข

  • สร้างภาคีเครือข่าย จากสถาบันการศึกษาชั้นนำ เพื่อยกระดับการจัดการศึกษา

  • จัดการเรียนการสอนวิชาชีพ และทักษะชีวิต  ตามที่นักเรียนสนใจ เพื่อต่อยอดการเรียนรู้สู่มืออาชีพจบไปมีงานทำ

  • ส่งเสริม และ สนับสนุน ห้องสมุดอัจฉริยะ ที่สามารถแสวงหาความรู้ได้ครบทุกสื่อ

  • สร้างสังคมการเรียนรู้แก่คนทุกวัย ให้ได้เรียนรู้ตลอดชีวิต ทันโลกทันสมัย และ ทันเทคโนโลยี

  • จัดทำ (ปิดเทอมเติมประสบการณ์) เปิดสอนตามความสนใจของผู้เรียน โดยผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ เช่น ศิลปะ ดนตรี กีฬา และนันทนาการ

  • เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนระบบออนไลน์ และรองรับอุปกรณ์การเรียนการสอนในระบบออนไลน์

  • จัดหลักสูตรเรียนรู้ชีวิตพอเพียง เพื่อให้นักเรียนสามารถสร้างทักษะชีวิตได้มากขึ้น

                 2. สุข “ชีวิตสุข” นำตะกั่วป่า สู่เมืองคุณภาพชีวิตสมบูรณ์ โดย

  • ดูแลคนทุกวัย ให้มีความสุข สุขภาพสมบูรณ์

  • สร้างมาตรฐานศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาล เจ็บป่วยรักษาได้ และจัดหน่วยบริการทางการแพทย์เคลื่อนที่ทุกชุมชน เพื่อลดความเหลือมล้ำในการรักษา

  • ต่อยอดสวัสดิการรัฐ ส่งมอบให้คนทุกวัยอย่างเท่าเที่ยมกัน

  • สนับสนุนการออกกำลังกาย และส่งเสริมกีฬาทุกรูปแบบ ตามความสนใจของคนตะกั่วป่า

  • จัดสร้างสถานที่ออกกำลังกายในชุมชนเมืองเพิ่มขึ้น ให้สะดวกทุกพื้นที่

  • ยกระดับคุณภาพ ตลาดสดที่ได้มาตรฐาน สะดวก ปลอดภัย มาตรการเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค

  • สร้าง “ศูนย์สุขยั่งยืน”สายด่วนดูแลสุขภาพประชาชน ตามชีวิตวิถีใหม่

  • จัดหาอาสาสมัครดูแลผู้สูงวัยติดเตียง

  • ส่งเสริม สนับสนุนเตรียมความพร้อมให้แก่สังคมผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีทั้งร่าง กายและจิตใจ โดยสร้างพฤติกรรมด้านสุขภาพที่เหมาะสมกับวัย ตลอดจนส่งเสริมการใช้ประสบการณ์ของผู้สูงอายุในกระบวนการพัฒนาสังคมโดยใช้ระบบคลังสมองถ่ายทอดความรู้

  • จัดสร้าง “ศูนย์สุขน้ำใจ” สำหรับการแลกเปลี่ยนอุปกรณ์ผู้ป่วยติดเตียง

  • สร้างโอกาสแก่ผู้ด้อยโอกาส ตลอดทั้งจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ ผู้พิการและสงเคราะห์ผู้ยากไร้ให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมั่นคง

  • ปรับปรุงพื้นที่ตลาดสด ให้เป็นตลาดสดได้มาตรฐาน สะอาด สะดวก ปลอดภัย และราคาพร้อมคุณภาพที่เป็นธรรม

  • ส่งเสริมการตลาดเพื่อจำหน่ายสินค้าและบริการผ่านแอปพลิเคชัน

  • สร้างมาตรฐานการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ ให้กับประชาชนในพื้นที่ และ พร้อมเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบตามภารกิจของเทศบาล

  • สร้างมาตรฐานการควบคุมป้องกันโรคติดต่อ ทั้งโรคพิษสุนัขบ้า โรคไข้เลือดออกและโรคอุบัติใหม่ ให้ประชาชนปลอดภัย

                 3. สุข “อุ่นใจ” นำตะกั่วป่า สู่เมืองมาตรฐานความปลอดภัย โดย

  • สร้างศูนย์สุขยั่งยืน ด้วยระบบ CCTV ที่ได้มาตรฐานพร้อมสอดส่องทุกมุมเมือง ตลอด 24  ชั่วโมง

  • เตรียมป้องกันภัยตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยมาตรฐานศูนย์ดับเพลิง ทีมกู้ภัย

  • เปลี่ยนหลอดไฟเป็นหลอด LED เพิ่มแสงสว่างให้กับชุมชนและสร้างประสิทธิภาพให้กับกล้อง CCTV

  • พัฒนาระบบจราจรอัจฉริยะ เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร และสร้างความปลอดภัยในการเดินทาง

  • พัฒนาระบบไฟฟ้าสาธารณะครอบคลุมทุกพื้นที่จุดเสี่ยงเพื่อความสะดวก ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

  • ปรับปรุงซ่อมแซมถนนทุกสายให้สวยงาม พร้อมเร่งดำเนินการ ก่อสร้างถนนสายหลัก
    สายรอง ให้สะดวกและปลอดภัย

  • จัดสร้างสาธารณูปโภค เพื่อเอื้อประโยชน์ แก่ผู้สูงอายุ และ ผู้พิการ (อารยสถาปัตย์)

                 4. สุข “สิ่งแวดล้อมยั่งยืน” นำตะกั่วป่า สู่เมืองปลอดมลพิษ โดย

  • บริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองให้ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งการจัดการขยะ น้ำเสีย และมลพิษทางอากาศ

  • ก่อตั้งยุวทูตสิ่งแวดล้อม และชมรมรักษ์ตะกั่วป่า เพื่อเป็นตัวแทนการรักษาสิ่งแวดล้อม

  • รณรงค์การใช้จักรยานเพื่อสนองนโยบายการประหยัดพลังงาน

  • จัดภูมิทัศน์เมืองให้งดงามด้วยการปลูกต้นไม้และสร้างสวนหย่อม ให้เกิดพื้นที่สีเขียวให้มากที่สุด

  • สร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้เมืองตะกั่วป่า “ตะกั่วป่าเมืองโอโซน เมืองแห่งอากาศบริสุทธ์”

  • พัฒนาสวนสาธารณะ และเพิ่มพื้นที่สีเขียว เพื่อรองรับสวนสวยในเมืองเพื่อการพักผ่อน และออกกำลังกาย

  • ปลูกต้นไม้สร้างพื้นที่สีเขียวในพื้นที่สาธารณะ และเชื่อมคนเข้ากับป่าโดยส่งเสริมให้ครัวเรือน ชุมชน เพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อลดโลกร้อน และเป็นแบบอย่างรองรับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์

                 5. สุข “ชีวิตพอเพียง” นำตะกั่วป่า สู่เมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดย

  • สร้างเศรษฐกิจ สร้างสรรค์มุ่งสร้างงานและสร้างรายได้โดยสร้าง "ผลิตภัณฑ์" พัฒนาฝีมือและคุณภาพของสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาด

  • สร้างตราสัญลักษณ์ตะกั่วป่า ให้เป็นที่ยอมรับ และสนับสนุนส่งเสริมสินค้าเอกลักษณ์ และอาหารพื้นเมืองอันเกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นทุกประเภท (TAKUAPA BRAND)

  • สนับสนุนการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ให้คนตะกั่วป่ามีรายได้

  • เที่ยวตะกั่วป่าเที่ยวได้ทุกเดือน ด้วยการจัดปฏิทินกิจกรรมการท่องเที่ยวประจำปี เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องตลอดปี

  • จัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยวทุกรูปแบบ

  • จัดตั้งศูนย์วัฒนธรรม เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมที่ดีงามของการผสานพหุวัฒนธรรมท้องถิ่น

  • ส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ให้เพิ่มมากขึ้น

  • พัฒนาพื้นที่เมืองเก่าให้คงไว้ซึ่งอัตลักษณ์และคุณค่าทางสถาปัตยกรรมและวิถีชีวิต เพื่อเป็นต้นทุนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

  • สนับสนุน ส่งเสริม งานประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น

                 6. สุข "ใจบริการ" นำตะกั่วป่า สู่องค์กรคุณธรรม โดย

  • พัฒนาให้เป็นองค์กรแห่งความทันสมัย บริการรวดเร็ว เป็นธรรม พร้อมสรรพในจุดเดียว
    ทุกการบริการประชาชน มุ่งสู่องค์การที่เป็นเลิศด้านการบริการ

  • พัฒนาระบบการบริการผ่านแอปพลิเคชัน เพื่อลดภาระของประชาชนที่จะต้องเดินทางมาติดต่อราชการให้สามารถดำเนินการได้เองหรือสืบค้นข้อมูลได้เองที่บ้าน

  • มุ่งสร้างองค์กรสีขาว ต่อต้านการทุจริต สร้างเมืองตะกั่วป่าเป็นเมืองแห่งคุณธรรม

  • ให้ความสำคัญกับการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในการปฏิบัติราชการ หากพบว่าส่วนใดมีการทุจริตและประพฤติมิชอบ จะมีการดำเนินการตามระเบียบกฎหมายที่กำหนดไว้สูงสุด

  • สร้างเทศบาลแห่ง การมีส่วนร่วมของประชาชน และรักษาผลประโยชน์ของประชาชน โดยประชาชนได้รับประโยชน์จากการพัฒนา

  • มีศูนย์ข้อมูลข่าวสารหลายด้านเพื่อให้ประชาชนสามารถเลือกสืบค้นได้

  • บริหารงบประมาณอย่างสุจริตให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ท้องถิ่น สามารถตรวจสอบการทำงานความรู้ความสามารถของผู้บริหารและสมาชิกสภาเทศบาลโดยภาคประชาชน

  • พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการบริการภาครัฐได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม

  • พัฒนาคุณภาพชีวิตของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของเทศบาลให้ดีขึ้นเพื่อสามารถดำรงชีพอย่างมีศักดิ์ศรี จัดให้มีสวัสดิการตามความเหมาะสมกับสภาพของงานและสถานการณ์ค่าครองชีพที่เปลี่ยนไปเพื่อให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่มีความสมดุลระหว่างการทำงานกับชีวิตส่วนตัว

                 ตามนโยบายที่ได้แถลงในวันนี้ เป็นส่วนหนึ่งที่กระผมพิจารณาว่าจะสามารถทำให้เห็นเป็นผลสัมฤทธิ์ได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพ ประหยัด โปร่งใส โดยบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่จะทําให้นโยบายของกระผมไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ ก็ยังต้องอาศัยความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ จากท่านสมาชิกสภาเทศบาลทุกท่าน พนักงาน เจ้าหน้าที่ของเทศบาลทุกคนได้ช่วยกันสนับสนุน แปลงแนวนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และร่วมกันขับเคลื่อน ผลักดันให้บังเกิดเป็นรูปธรรม เพื่อรังสรรค์การพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่น และประชาชนได้อย่างแท้จริง เพื่อตะกั่วป่า "สุข" ยั่งยืนต่อไปในอนาคต

*******************************************