อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
บทบาทหน้าที่

โครงสร้างการจัดองค์กร และ ศักยภาพขององค์กร

          เทศบาลเมืองตะกั่วป่า ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ในการบริหารงานและการปกครองตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2552 และตามประกาศกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดพังงา เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของเทศบาล โดยมีระบบโครงสร้างการบริหารงาน อัตรากำลังบุคลากร ดังนี้

          ฝ่ายนิติบัญญัติ

          สภาเทศบาลเมืองตะกั่วป่า ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ประกอบด้วยสมาชิกสภา 18 คน เลือกตั้งโดยราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง มีประธานสภา 1 คน และรองประธานสภา 1 คน ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจากสมาชิกสภาเทศบาลตามมติของสภาเทศบาล และมีสมาชิกสภาทั้งหมด 18 คน โดยแบ่งเขตเลือกตั้งเป็น 3 เขตเลือกตั้ง แต่ละเขตมีสมาชิกเขตละ 6 คน

          ฝ่ายบริหาร

          (1) ฝ่ายการเมือง   เทศบาลเมืองตะกั่วป่าเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นหน่วยงานที่มีการแบ่งส่วนราชการในการบริหารงานตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 บัญญัติไว้ เพื่อทำหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด และการบริการประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ โดยใช้รูปแบบการบริหารโดยนายกเทศมนตรี ซึ่งนายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เทศบาลเมืองตะกั่วป่า เป็นเทศบาลขนาดกลาง มีนายกเทศมนตรีเป็นผู้บริหาร โดยนายกเทศมนตรีแต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกิน 3 ตำแหน่ง ที่ปรึกษาและเลขานุการนายกเทศมนตรีรวมกันไม่เกิน 3 ตำแหน่ง เป็นทีมในการบริหารงาน

          (2) ฝ่ายประจำ   การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นของเทศบาลเมืองตะกั่วป่า จะมีข้าราชการประจำสำหรับการบริหารงานราชการต่างๆ โดยมีปลัดเทศบาลเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานเทศบาลตลอดจนลูกจ้างและพนักงานจ้างในสังกัด ซึ่งมีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในงานประจำทั่วไปของเทศบาล โดยเทศบาลมีการแบ่งส่วนการบริหารราชการภายในออกเป็น 7 ส่วนราชการ 1 หน่วยงาน ได้แก่

1. สำนักปลัดเทศบาล มีหน้าที่ให้ความรับผิดชอบเกี่ยวกับราชการทั่วไปของเทศบาล และราชการที่มิได้กำหนดไว้ให้เป็นหน้าที่ของกอง หรือส่วนราชการใดในเทศบาลโดยเฉพาะ รวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในเทศบาลให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของเทศบาล มีการแบ่งส่วนราชการภายใน ออกเป็น 2 ฝ่าย ดังนี้

1.1 ฝ่ายอำนวยการ มีหน้าที่ควบคุมดูแลและรับผิดชอบการปฏิบัติงานในงานธุรการ งานการเจ้าหน้าที่ และงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

1.2 ฝ่ายปกครอง มีหน้าที่ควบคุมดูแลและรับผิดชอบการปฏิบัติงานในงานทะเบียนราษฎร งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และงานรักษาความสงบ

1.3 งานนิติการ มีหน้าที่ควบคุมรับผิดชอบการปฏิบัติงานทางด้านกฎหมาย

2. กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ มีหน้าที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์นโยบายและแผน ซึ่งมีลักษณะเพื่อประกอบการกำหนดนโยบายจัดทำแผนหรือโครงการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงานและโครงการต่างๆ ซึ่งอาจเป็นนโยบายแผนงาน และโครงการทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การบริหารหรือความมั่นคงของประเทศ ทั้งนี้ อาจเป็นนโยบายแผนงานของเทศบาล และโครงการระดับชาติ ระดับกระทรวง ระดับกรม หรือระดับจังหวัดแล้วแต่กรณี และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง มีการแบ่งส่วนราชการภายใน ดังนี้

2.1 ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ มีหน้าที่ควบคุมดูแลและรับผิดชอบการปฏิบัติงานของงานวิเคราะห์นโยบายและแผน และการจัดทำงบประมาณของหน่วยงาน ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับงานทางกฎหมายเกี่ยวกับการพิจารณาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ร่างและพิจารณาตรวจร่างเทศบัญญัติ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งที่เกี่ยวข้อง งานจัดทำนิติกรรม รวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย งานสอบสวน ตรวจพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับวินัยพนักงานเทศบาลและการร้องทุกข์หรืออุทธรณ์ งานสอบสวนและเปรียบเทียบการกระทำที่ละเมิดเทศบัญญัติ

2.2 ฝ่ายบริการและเผยแพร่วิชาการ มีหน้าที่เกี่ยวกับงานบริการและเผยแพร่วิชาการต่างๆ การเผยแพร่ข่าวสารของเทศบาลงานเผยแพร่สนับสนุนผลงานนโยบายของเทศบาล จังหวัด และรัฐบาลงานเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของชาติและท้องถิ่นงานการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย วางแผนด้านประชาสัมพันธ์ โดยรวบรวมข้อคิดเห็นของประชาชน หรือปัญหาข้อขัดข้องต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานในหน้าที่เพื่อเสนอแนะฝ่ายบริหารพิจารณาวางหลักเกณฑ์ ปรับปรุง และแก้ไขระเบียบวิธีการปฏิบัติงานให้เหมาะสมและสัมพันธ์กับนโยบายของประเทศ งานรวบรวมข้อมูลสถิติต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์ งานสารนิเทศ

2.3 ฝ่ายบริหารงานทั่วไป มีหน้าที่ควบคุมรับผิดชอบการปฏิบัติงานในหน้าที่ของงานธุรการ งานสารบรรณ งานสวัสดิการของกองหรือฝ่าย เป็นต้น

3. กองคลัง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานการจ่าย การรับ การนำส่งเงิน การเก็บรักษาเงิน และเอกสารทางการเงิน การตรวจสอบใบสำคัญ ฎีกา งานเกี่ยวกับเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน เงินบำเหน็จ บำนาญ งานอื่นๆ เกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณ ฐานะทางการเงิน การจัดสรรเงินต่างๆ การจัดทำบัญชีทุกประเภท ทะเบียนคุมเงินรายได้และรายจ่ายต่างๆ การควบคุมการเบิกจ่าย งานทำงบทดลองประจำเดือน ประจำปี งานเกี่ยวกับพัสดุของเทศบาลและงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและตามที่ได้รับมอบหมาย มีแบ่งส่วนราชการภายใน ดังนี้

3.1 ฝ่ายพัฒนารายได้ มีหน้าที่ควบคุมดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติงานในส่วนของงานผลประโยชน์ งานแผนที่ภาษี และงานทะเบียนทรัพย์สิน

3.2 ฝ่ายบริหารงานคลัง มีหน้าที่ควบคุมดูแลและรับผิดชอบการปฏิบัติงานของงานการเงินและบัญชี งานพัสดุและทรัพย์สิน งานสถิติการคลัง

3.3 ฝ่ายบริหารงานทั่วไป มีหน้าที่ควบคุมดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติและประสานงานในหน้าที่ของงานธุรการ และงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

4. กองช่าง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการสำรวจ ออกแบบ การจัดทำข้อมูลทางด้านวิศวกรรม การจัดเก็บและทดสอบคุณภาพวัสดุ งานออกแบบและเขียนแบบ การตรวจสอบ การก่อสร้าง การควบคุมอาคารตามระเบียบกฎหมาย งานแผนการปฏิบัติงานการก่อสร้างและซ่อมบำรุง การควบคุมการก่อสร้างและซ่อมบำรุง งานแผนงานด้านวิศวกรรมเครื่องจักรกล การรวบรวมประวัติ ติดตาม ควบคุมการปฏิบัติเครื่องจักรกล การควบคุม การบำรุงรักษาเครื่องจักรกล และยานพาหนะ งานเกี่ยวกับแผนงาน ควบคุมเก็บรักษา การเบิกจ่ายวัสดุ อุปกรณ์ อะไหล่ น้ำมันเชื้อเพลิง และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และที่ได้รับมอบหมาย มีการแบ่งส่วนราชการภายใน ดังนี้

4.1 ฝ่ายแบบแผนและก่อสร้าง มีหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบการปฏิบัติงานในหน้าที่ของงานวิศวกรรม

4.2 ฝ่ายการโยธา มีหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบการปฏิบัติงานในหน้าที่ของงานสถาปัตยกรรม งานสาธารณูปโภค งานสวนสาธารณะ งานจัดสถานที่และไฟฟ้าสาธารณะ และงานศูนย์เครื่องจักรกล

4.3 งานธุรการ หน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการของกองหรือฝ่ายและงาน

5. กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่เกี่ยวกับสาธารณสุขชุมชน ส่งเสริมสุขภาพและอนามัยการป้องกันโรคติดต่อ งานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและงานอื่นๆ เกี่ยวกับการให้บริการด้านสาธารณสุข งานสัตวแพทย์ ในกรณีที่ยังไม่ได้จัดตั้งกองการแพทย์ จะมีงานด้านการรักษาพยาบาลในเบื้องต้นเกี่ยวกับศูนย์บริการสาธารณสุขและงานทันตสาธารณสุข แบ่งส่วนราชการภายใน ดังนี้

5.1 ฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข มีหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบการปฏิบัติงานในหน้าที่ของงานดังนี้

      • งานศูนย์บริการสาธารณสุข มีหน้าที่ให้บริการรักษาพยาบาล วางแผนและจัดการให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วย สนับสนุนเกี่ยวกับการตรวจวิจัย งานบัตรประกันสุขภาพทั่วหน้า และงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
      • งานรักษาความสะอาด มีหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการล้างทำความสะอาด เก็บรวบรวมขยะมูลฝอย ขนถ่ายขยะและสิ่งปฏิกูล เป็นต้น
      • งานสุขาภิบาลอนามัยสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบการปฏิบัติงานเกี่ยวกับสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม สุขาภิบาลอาหารและโภชนาการ การควบคุมประกอบการค้าที่น่ารังเกียจหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ งานป้องกันและควบคุมแก้ไขเหตุรำคาญ และมลภาวะ เป็นต้น

5.2 งานสัตวแพทย์ มีหน้าที่เกี่ยวกับ งานควบคุมและรับผิดชอบโรคสัตว์ โรคที่เกิดจากสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่าที่นำมาเลี้ยงหรือสัตว์ที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติงานระวังและรับผิดชอบโรคในกลุ่มบุคคลซึ่งประกอบอาชีพเสี่ยงต่อการติดโรคสัตว์ งานควบคุมการฆ่าสัตว์และโรงฆ่าสัตว์ งานควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า งานป้องกันโรคติดเชื้อหรืออันตรายหรือเหตุรำคาญจากสัตว์ งานรายงานข้อมูลสถิติและการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับงานด้านสัตวแพทย์ เป็นต้น

5.3 งานส่งเสริมสุขภาพ มีหน้าที่เกี่ยวกับ งานวางแผนและควบคุมการปฏิบัติงาน งานส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัย งานสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน งานป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ งานป้องกันและบำบัดการติดสารเสพติด

5.4 งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ มีหน้าที่เกี่ยวกับ งานวางแผนควบคุมการปฏิบัติงาน งานสร้างภูมิคุ้มกันโรคในคลินิก การเฝ้าระวังและสอบสวนการระบาดวิทยา การควบคุมสัตว์พาหนะนำโรค

5.5 งานธุรการ มีหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการของกองหรือฝ่ายและงาน

6. กองการศึกษา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารการศึกษาและพัฒนาการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบการศึกษา การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เช่น การจัดการศึกษาปฐมวัย อนุบาลศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอาชีวศึกษา โดยให้มีงานธุรการ งานการเจ้าหน้าที่ งานบริหารวิชาการ งานโรงเรียน งานศึกษานิเทศก์ งานกิจการนักเรียน งานการศึกษาปฐมวัย งานขยายโอกาสทางการศึกษา งานฝึกและส่งเสริมอาชีพ งานห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ และเครือข่ายทางการศึกษา งานกิจการศาสนา แบ่งส่วนราชการ ดังนี้

6.1 ฝ่ายบริหารการศึกษา มีหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบการปฏิบัติงานในหน้าที่ของงานการเจ้าหน้าที่ งานวางแผนบุคคลคลและทะเบียนประวัติ งานโรงเรียน งานการประถมศึกษา งานระบบสารสนเทศ งานกิจการโรงเรียน งานส่งเสริมคุณภาพและมาตรฐานหลักสูตร และงานพัฒนาสื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา

6.2 ฝ่ายส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบการปฏิบัติงานในหน้าที่ของงานการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย งานฝึกและส่งเสริมอาชีพ งานห้องสมุดพิพิธภัณฑ์ และเครือข่ายทางการศึกษา งานกิจกรรมเด็กและเยาวชน งานกีฬาและนันทนาการ งานกิจการศาสนางานส่งเสริมประเพณี ศิลปวัฒนธรรม

6.3 ฝ่ายแผนงานและโครงการ มีหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบการปฏิบัติงานในหน้าที่ของงานแผนและโครงการ งานงบประมาณและการเงิน และงานธุรการ

6.4 หน่วยงานศึกษานิเทศก์ มีหน้าที่สำรวจความต้องการและปัญหาทางการศึกษา งานจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลสถิติทางการศึกษา งานวิจัยการศึกษา งานพัฒนาหลักสูตร งานนิเทศให้คำปรึกษาแนะนำปัญหาทางวิชาการ งานเขียนตำรา และเอกสาร งานผลิตสื่ออุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน งานค้นคว้าทดลองและเผยแพร่วิทยากรแผนใหม่ทางการศึกษา งานวัดประเมินผลทางการศึกษา งานจัดทำงบประมาณของนิเทศการศึกษา งานประเมินคุณภาพทางการศึกษา และงานอื่น

7. กองสวัสดิการสังคม มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการสังคมสงเคราะห์ การส่งเสริมสวัสดิการและเยาวชน การพัฒนาชุมชน การจัดระเบียบชุมชนหนาแน่น และชุมชนแออัด การจัดให้มีและสนับสนุนกิจกรรมศูนย์เยาวชน การส่งเสริมงานประเพณีท้องถิ่น และงานสาธารณะ การให้คำปรึกษาแนะนำหรือตรวจสอบเกี่ยวกับงานสวัสดิการสังคมและปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง มีการแบ่งส่วนราชการ ดังนี้

7.1 ฝ่ายบริหารงานทั่วไป มีหน้าที่ควบคุมรับผิดชอบการปฏิบัติงานในหน้าที่ของงานธุรการ

7.2 ฝ่ายพัฒนาชุมชน มีหน้าที่ควบคุมรับผิดชอบการปฏิบัติหน้าที่ของงานพัฒนาชุมชน ได้แก่ งานสำรวจจัดทำแผนชุมชน แผนพัฒนาหมู่บ้าน จัดตั้งคณะกรรมการชุมชน งานฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน งานจัดระเบียบชุมชน เป็นต้น

7.3 งานสังคมสงเคราะห์ งานสงเคราะห์คนชรา คนพิการ และทุพพลภาพ ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม เด็กและเยาวชน ผู้ป่วยเอดส์ งานกองทุนสวัสดิการสังคม งานช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติต่างๆ เป็นต้น

8. หน่วยงานตรวจสอบภายใน มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานตรวจสอบบัญชีเอกสารการเบิกจ่าย เอกสารการรับเงินทุกประเภท ตรวจสอบการเก็บรักษาหลักฐาน บัญชี ตรวจสอบพัสดุ และการเก็บรักษา งานตรวจสอบทรัพย์สิน เทศบาล และงานอื่นที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

ตารางที่ 2.33 แสดงกรอบอัตรากำลังพนักงานเทศบาลเมืองตะกั่วป่า

ส่วนราชการ

จำนวนพนักงานเทศบาล

ลูกจ้าง/พนักงานจ้าง

รวม

ทั้งสิ้น

8

7

6

5

4

3

2

1

รวม

ประจำ

ทั่วไป

ภารกิจ

1. สำนักปลัดเทศบาล

2

2

1

-

2

1

1

-

9

13

12

22

56

2. กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ

1

1

1

-

-

-

-

-

3

1

1

5

10

3. กองคลัง

1

2

4

1

-

-

-

-

8

2

1

6

17

4. กองช่าง

-

1

-

4

-

-

1

-

6

21

15

6

48

5. กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

1

1

3

-

-

-

-

-

5

13

15

6

44

6. กองการศึกษา

1

2

2

2

-

-

-

-

7

1

22

12

42

7. กองสวัสดิการสังคม

-

-

1

2

-

-

-

-

3

-

3

-

6

8. หน่วยงานตรวจสอบ ภายใน

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

รวมทั้งสิ้น

6

9

12

9

2

1

2

-

41

51

69

57

218

ที่มา : สำนักปลัด เทศบาลเมืองตะกั่วป่า ข้อมูล ณ เดือน พฤษภาคม 2557