เทศบาลเมืองตะกั่วป่าจากการศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์พบว่าเดิมเมืองตะกั่วป่า
เป็นเมืองเก่าและเป็นศูนย์กลางการค้าแร่ขนาดใหญ่
ซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองมาก
ซึ่งในสมัยโบราณได้กล่าวถึงเมืองท่าที่สำคัญทางตะวันออก "สุวรรณภูมิ"
อยู่บริเวณแหลมมลายูหรือแหลมทองทางตะวันตกตั้งแต่ตะโกลา (Takola)
มีเมืองท่าตะโกลา (Takola) วรรณคดีอินเดียโบราณเรียกว่า "สุวรรณทวีป"
ดินแดนที่เรียกว่า "สุวรรณทวีป" มีเมืองท่าที่สำคัญที่นักโบราณคดีว่าไว้
ได้แก่ "เมืองตะกั่วป่า" (Takuapa)
"ตะกั่วป่า" เดิมเป็นเมืองเรียกว่า "เมืองตะกั่วป่า" แต่ในสมัยโบราณ คือ
เมืองตะโกลาเป็นเมืองที่สำคัญเมืองหนึ่งของฝั่งทะเลด้านตะวันตกของภาคใต้มีความเจริญรุ่งเรืองมาพร้อมๆ
กับเมืองนครศรีธรรมราชและเมืองไทรบุรี ชาวพื้นเมืองเดิมเป็นชาวป่าพวกหนึ่ง
เรียกว่า "ซาไก"
ต่อมาชาวมลายูได้อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งในดินแดนแถบนี้ประมาณ พ.ศ. 200 –
300
พระเจ้าอโศกมหาราชจักรพรรดิแห่งประเทศอินเดียได้ยกกองทัพมาปราบแคว้นกลิงคราษฎร์
ในดินแดนตะวันออกเฉียงใต้ ชาวกลิงคราษฎร์บางพวก
จึงได้อพยพมาขึ้นที่เมืองตะกั่วป่า และเมืองใกล้เคียงโดยได้นำความรู้ต่างๆ
มาเผยแพร่ในดินแดนแถบนี้ด้วยเมืองตะกั่วป่าเป็นเมืองท่าที่สำคัญ
ที่ชนชาติทางตะวันตกรู้จักเป็นอย่างดี โดยเฉพาะชนชาติอินเดีย
ซึ่งได้มาถึงเมืองนี้ก่อนชนชาติอื่นๆ
ดังปรากฏหลักฐานในหนังสือมิลินทปัญหาซึ่งได้เขียนไว้เมื่อประมาณ พ.ศ. 500
ว่าชาวอินเดียเรียกเมือง
ตะกั่วป่าว่า "เมืองตกุโกล" หรือ "ตกโกล" ในภาษาบาลีและ ตกุลในภาษาสิงหล
แปลว่า กระวาน เหตุผลที่ได้เรียกชื่อดังนี้
น่าจะสืบเนื่องมาจากเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ด้วยเครื่องเทศ
และในเวลาต่อมาชาวกรีก อาหรับและเปอร์เซียเข้ามาทำการค้าขายติดต่อด้วย
ปรากฏตามจดหมายเหตุของปโตเลมี เรียกเมืองนี้ว่า "ตะโกลา" อาหรับเรียกว่า
"กะกุละ" หรือ "กะโกละ" นอกจากนี้
ยังมีชาวจีนได้นำเอาเครื่องกระเบื้องเข้ามาค้าขายยังถิ่นฐานนี้ตั้งแต่
1,600 ปีมาแล้ว และก็มีชนชาติต่างๆ เข้ามาติดต่อค้าขายในพื้นที่แห่งนี้
วิสัยทัศน์
"ตะกั่วป่าน่าอยู่ เมืองมนต์เสน่ห์แห่งวัฒนธรรม
สังคมเป็นสุข"
พันธกิจ
1.
พัฒนาคุณภาพชีวิตแบบองค์รวมและจัดบริการสาธารณะที่มีคุณภาพ
พร้อมทั้งส่งเสริมสนับสนุนชุมชนเข้มแข็ง
คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข
2. พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมให้เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
และพัฒนาเศรษฐกิจ อาชีพ
รายได้ของท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐาน ครอบคลุม ทั่วถึง
4. ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหารงาน
และมุ่งผลิตบริการสาธารณะที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน สนับสนุน
การมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อความโปร่งใส เสมอภาค เท่าเทียม เป็นธรรม
เป้าประสงค์
1.
พัฒนาทุนทางวัฒนธรรมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว
2. ระบบเศรษฐกิจของชุมชนมีความเข้มแข็ง ประชาชนมีอาชีพ
3. โครงสร้างพื้นฐานที่ได้มาตรฐานอย่างทั่วถึง
4.
องค์กรมีศักยภาพในการบริหารงานและผลิตบริการสาธารณะที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน
5. ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น
6. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้รับบริการสาธารณะที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน
ชุมชนเข้มแข็ง
ความหมายของตราสัญลักษณ์เทศบาลเมืองตะกั่วป่า
เป็นรูป "พระนารายณ์" ซึ่งเป็นเทวอันศักดิ์สิทธิ์ของชาวเมืองตะกั่วป่า แกะสลักด้วยหินซิสต์ พิงอยู่ใต้ต้นตะแบก ตรงคลองสามแพร่ง คือ คลองหลังพม่า คลองกะปง และลำน้ำตะกั่วป่า เรียกว่า "ปากเวียง"
"พระนารายณ์" เป็นประติมากรรมฝ่ายศาสนาพราหมณ์ โดย ดร.ควอรีตซ์ เวลส์ นักศึกษาโบราณคดี ชาวอังกฤษ ได้สันนิษฐานไว้เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๗๘ ว่า ชาวอินเดียคงจะเป็นผู้นำมาเมื่อคราวที่วัฒนธรรม และศิลปกรรมอินเดียได้ถูกนำเผยแพรทางตะวันออก และมีผู้เล่าขานว่า ชาวพม่าเคยลักพาไปแต่ไม่สำเร็จ เพราะเกิดพายุและฝนตกหนัก จึงต้องนำมาคืนทิ้งไว้ริมฝั่ง กับเมื่อคราวมุงหลังคาก็เกิดพายุฝนตกน้ำท่วมบ้านเมือง เลยต้องปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้ง ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าว เทศบาลจึงได้นำมาเป็นตราสัญลักษณ์ประจำเทศบาลเมืองตะกั่วป่า
โบราณวัตถุสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์โบราณคดี
เมืองตะกั่วป่าเป็นเมืองประวัติศาสตร์อันยาวนานที่ชนรุ่นหลัง
ควรให้ความสนใจเกี่ยวแหล่งโบราณสถาน
โบราณวัตถุที่ยังหลงเหลือทิ้งร่องรอยอยู่ให้เห็นในปัจจุบัน
ซึ่งมีแหล่งโบราณสถานที่น่าสนใจหลายแห่ง
ฉบับนี้ขอแนะนำให้ท่านผู้อ่านได้รู้จัก….
. ทุ่งตึก
บ้านทุ่งตึกอยู่บนเกาะคอเขาตอนท้ายเกาะในเขตหมู่ที่ 3 ตำบลเกาะคอเขา
อำเภอตะกั่วป่า คืออยู่ระหว่างปลายคลองเมืองทองกับคลองปลายทุ่ง
ซึ่งบริเวณนี้เป็นปากน้ำตะกั่วป่า
ลักษณะพื้นที่เป็นลานทรายมีต้นไม้ขึ้นห่าง ๆแห่งก็เป็นป่าละเมาะ
เหตุที่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า “ทุ่งตึก”
ก็เนื่องมาจากบนลานทรายระหว่างป่าละเมาะแห่งนี้ ในเนื้อที่หลายสิบไร่
มีซากอาคารโบราณสถานคล้ายกับเป็นตึกหรือวิหารอยู่ไม่น้อยกว่า 3
แห่งปรากฏอยู่ แล้วยังได้พบชิ้นส่วนของศาสนสถาน และสัญลักษณ์รูปเคารพ
เคารพในศาสนาพราหมณ์ อาทิ
แผ่นศิลาสลักเป็นแท่นเจาะรูคล้ายกับเป็นแท่นศิลารองฐานศิวลึงค์
หรือเทวรูปยาว 125 ซ.ม. กว้าง 74 ซ.ม. แผ่นศิลาปักดินไม่น้อยกว่า 5 แผ่น
(วัดคงคาภิมุข ใกล้ตลาดตะกั่วป่า นำไป 3 แผ่น) ก้อนศิลาอื่นอีกบ้าง
กระจายอยู่ล้วนเป็นหินชนวนเหมือนกันทั้งหมด นอกจากนี้แล้ว
ตามพื้นดินยังเต็มไปด้วยเศษกระเบื้องถ้วยชามเครื่องเคลือบของจีน
เศษภาชนะเครื่องปั้นดินเผา เศษภาชนะทำด้วยแก้วสีต่าง ๆ พร้อมด้วยลูกปัด
ชนิดและสีต่าง ๆ จำนวนมากมายเงินเหรียญอินเดีย
กระจายเต็มแผ่นบริเวณที่เป็นโบราณสถานทุ่งตึกจากหลักฐานเหล่านี้ทำให้นักโบราณคดีทั้งชาวไทย
และชาวต่างประเทศให้ความสนใจเป็นอย่างมาก
ทุ่งตึกนอกจากเป็นเส้นทางผ่านของเรือสินค้าหลายชาติ
แล้วยังมีหลักฐานน่าเชื่อว่า เมื่อครั้งที่ชาวอินเดียอพยพหนีภัยลงเรือ
หนีมายังดินแดนทางเอเซียอาคเนย์
ได้มาขึ้นบกตั้งหลักแหล่งที่ทุ่งตึกหรือตะกั่วป่าก่อนระยะหนึ่งต่อมาเมื่อถูกข้าศึกศัตรูตามรบกวนและโรคภัยไข้เจ็บรบกวน
จึงได้อพยพเดินทางข้ามไปตั้งเมืองทางบริเวณริมฝั่งทะเลตะวันออก
เพราะได้พบว่าตลอดเส้นทางอพยพชาวอินเดียได้ก่อสร้างเทวสถาน และรูปเคารพ
อาทิ พระนารายณ์ไว้หลายแห่ง
อันเป็นเครื่องแสดงการเผยแพร่อารยธรรมอินเดียในภาคนี้ให้ปรากฏด้วย
กรณีเมืองตะกั่วป่าได้มีการย้ายศูนย์ราชการ ดังนี้
เดิมศูนย์ราชการเมืองตะกั่วป่าสมัยพระยาเสนานุชิต (นุช) พระยาเสนานุชิต
(เอี่ยม) ตั้งที่ตลาดใหญ่ (ตลาดเก่าเขตเทศบาลเมืองตะกั่วป่า) ต่อมา
สมัยพระยาเสนานุชิต (ฉิม) เห็นว่าตะกั่วป่ามีการคมนาคมไม่สะดวก
เพราะแม่น้ำตะกั่วป่าตื้นเขิน เรือขนาดใหญ่เข้าออกไม่ได้ ดังนั้น ในปี พ.ศ.
๒๔๔๔๘ จึงให้ย้ายที่ทำการจังหวัดตะกั่วป่าจากตลาดใหญ่
ไปตั้งใหม่ที่เกาะคอเขา (บริเวณเมืองใหม่ ต.เกาะคอเขา อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา
ในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นปากแม่น้ำตะกั่วป่าอีกทางหนึ่ง โดยคิดจะอาศํยเมืองท่า
ค้าขายกับต่างประเทศ เพราะมีร่องน้ำลึก เรือใหญ่เข้าจอดได้
ดังนั้นเมื่อมีการปฏิรูปการปกครองจึงตั้งศูนย์ราชการที่เกาะคอเขา
มีการแบ่งเขตการปกครองเป็น ๓ อำเภอ ๒๒ ตำบล คือ
๑. อำเภอเมืองตั้งที่ว่าการอำเภอที่ตำบลเมืองใหม่ มี ๘ ตำบล ได้แก่
เกาะคอเขา เกาะพระทอง คุรวก (คูรอด) บางครั่ง คุระ ไร่ช่อง กำพ่วม
และบางวัน
๒.อำเภอตลาดใหญ่ตั้งที่ว่าการอำเภอที่ตลาดใหญ่ มี ๙ ตำบล คือ ตลาดเหนือ
ตลาดใต้ โคกเคียน ย่านยาว บางม่วง บางสัก คุกคัก (คึกคัก) บางไทร
และตำตัว
๓. อำเภอกะปงตั้งที่ว่าการอำเภอกะปง มี ๕ ตำบล คือ กะปง (ปง) ท่านา เหมาะ
เหล และหลังพม่า แต่ปรากฏว่าที่ เกาะคอเขามีพายุจัดในช่วงฤดูมรสุม
เรือกลไฟสามารถเข้าออกได้บางฤดูเท่านั้น การเดินทางไม่สะดวก
ในปี พ.ศ.๒๔๕๘ สมัยพระโยธีพิทักษ์ เป็นผู้ว่าราชการเมืองตะกั่วป่า
ได้ย้ายที่ทำการจังหวัด (ศาลากลางจังหวัดตะกั่วป่า)
จากเกาะคอเขามาตั้งที่บ้านย่านยาว (คือที่ว่าการอำเภอตะกั่วป่าในปัจจุบัน)
เพราะทำเลเป็นผืนแผ่นดินใหญ่ ชุมชนหนาแน่นกว่าการคมนาคมสะดวก ต่อมา พ.ศ.
๒๔๕๙ พระเสนานุชิต (จร สกุนตลักษณ์)
ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดตะกั่วป่ามีจวนอยู่ทั้งตั้งเทศบาลเมืองตะกั่วป่าในปัจจุบันเป็นสำนักงานจังหวัดตะกั่วป่า
เมื่อย้ายศูนย์ราชการจากเกาะคอเขามาที่ย่านยาวแล้ว
ก็ได้เปลี่ยนชื่ออำเภอที่เกาะคอเขา
เป็นอำเภอปากน้ำเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพท้องที่ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๖๕